Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/449
Title: การดูดซับสี โรดามีนบี ด้วยซังข้าวโพดและซังข้าวโพดที่ปรับสภาพผิว
Other Titles: Adsorption of Rhodamine B by Corn Cob Seed and Activated Corn Cob Seed
Authors: สุวคนธ์, จันทร์ต๊ะ
วทัญญูตา, วาทกานต์
Suwakon, Janta
Watanyuta, Watakan
Keywords: การดูดซับ
โรดามีนบี
การกำจัดสี
ซังข้าวโพด
ซังข้าวโพดที่ปรับสภาพผิว
Activated Corn cob seed
Dye removal
Rhodamine B
Adsorption
Corn cob seed
Issue Date: 15-Sep-2014
Abstract: The feasibility of using corn cob seed and activated corn cob seed, abundantly available waste in Thailand, for Rhodamine B(RB) dye adsorption has been investigated. The effects of contact time, initial concentration (10–350 ppm) and solution temperature (26-60 oC) were studied in the batch experiments. The sufficient time for adsorption equilibrium of Rhodamine B onto corn cob seed and activated corn cob seed are 2 hour and 6 hour, respectively. The adsorbed amount dye on adsorbent slightly changed with increasing temperature. Based on the adsorption capacity, it was shown that the activated corn cob seed more effective than non-activated corn cob seed.
Description: ปัญหาน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นน้ำที่บำบัดได้ยาก โดยเฉพาะโรงงานฟอกย้อมสิ่งทอ เป็นปัญหาสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและก่อให้เกิดมลภาวะในการมองเห็นเนื่องจากสีปริมาณเล็กน้อยถึงแม้จะไม่มีพิษมากแต่สามารถทำให้แหล่งน้ำในธรรมชาติดูสกปรกและไม่น่าใช้ ดังนั้นการปล่อยน้ำทิ้งลงไปโดยไม่มีการบำบัดทำให้เกิดสีที่น่ารังเกียจและถ้ายังมีความเข้มข้นของสีสูงจะทำให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงสู่ใต้ผิวน้ำไม่ได้ซึ่งจะไปทำลายระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำและทำให้น้ำเน่าเสีย การที่น้ำเน่าเสียจากผลของการปล่อยน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอ จึงได้มีการศึกษาวิธีการบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอและพบว่าทำได้หลายวิธี เช่น การตกตะกอนด้วยสารเคมี (Chemistry coagulation) กระบวนการบำบัดทางชีววิทยา (Biological treatment) กระบวนการดูดซับด้วยสารดูดซับ เป็นต้น (Gupta and Suhas, 2009) โดยการศึกษาวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยวัสดุดูดซับจัดเป็นวิธีที่มีความน่าสนใจวิธีหนึ่ง โดยเทคนิคนี้ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยาก มีต้นทุนต่ำ เนื่องจากใช้พลังงานน้อยและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีราคาไม่แพง ซึ่งวัสดุดูดซับสามารถเตรียมได้จากวัสดุธรรมชาติ ซังข้าวโพดเป็นวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติและหาได้ในง่ายในทุกฤดูกาล ดังนั้นจึงน่าจะสามารถนำมาเป็นวัสดุดูดซับสีย้อมได้ ในงานวิจัยนี้สนใจศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับสีโรดามีนบี (Rhodamine B)โดยซังข้าวโพด และซังข้าวโพดที่ปรับสภาพผิว
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/449
Appears in Collections:Article



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.