Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/457
Title: พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณ๊ศึกษาน้ำพรึกตาแดง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่
Authors: บุญแรง, สุพจน์
ต๊ะการ, ทิวาวัลย์
Keywords: สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
น้ำพริกตาแดง
พฤติกรรมและทัศนคติผู้บริโภค
Issue Date: Jan-2005
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์โดยใช้น้ำพริกตาแดงของกลุ่มน้ำพริกตาแดงของกลุ่มน้ำพริกนครพิงค์ บ้านป่าแงะ ตำบลดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษา เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค และสอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานในด้านความปลอดภัย รวมทั้งใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพการณ์การผลิตน้ำพริกตาแดงของกล่มทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคและโอกาส ผลจากการวิจัยได้เลือกสุ่มกลุ่มผู้บริโภคตัวอย่างจำนวน 300 ราย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20-39 ปี มักซื้อน้ำพริกตาแดงสัปดาห์ละครั้ง และเวลาซื้อจะไม่เจาะจงยี่ห้อ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อน้ำพริกตาแดงในระดับมาก ได้แก่ คุณภาพความหอม รสชาติ สีแดงของพริก และราคา ส่วนลักษณะภาชนะบรรจุ ฉลากและความละเอียดของเนื้อน้ำพริกมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง โดยได้เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพพัฒนาคุณภาพด้านบรรจุภัณฑ์ควรมีการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้สวยงาม สีตามธรรมชาติของพริก รสชาติและกลิ่นคงที่สม่ำเสมอ มีการคัดเลือกวัตถุดิบ มีการกำหนดส่วนผสมที่แน่นอน มีการดูแลอาคารสถานที่ผลิต และ ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตนให้ถูกหลักสุขลักษณะที่ดี มีการตรวจสอบคุณภาพ ควรมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ และที่สำคัญควรระบุวัน เดือนปีที่หมดอายุ ผลการศึกษาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า แม้ตลาดจะมีคู่แข่งมาก แต่น้ำพริกตาแดงของกลุ่มยังมีช่องทางจำหน่ายเพิ่มมกขึ้น สัปดาห์หนึ่งผลิตน้ำพริกประมาณ 2-4 ครั้งๆ ละ 30 กิโลกรัม ได้ผลตอบแทนแก่สมาชิกกลุ่มคนละ 1,500-2,000 บาทต่อเดือน และเมื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ของกลุ่ม พบว่า น้ำพริกตาแดงมีจุดแข็ง คือ เป็นอาหารท้องถิ่นที่ได้รับความนิยม ราคาถูกหาซื้อได้ง่าย ผู้บริโภคซื้อโดยไม่เจาะจงยี่ห้อ ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มมีโอกาสขยายตลาดได้มาก และยังสามารถทำน้ำพริกชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย แต่มีจุดอ่อน คือ สูตรผลิตไม่หลากหลาย ไม่มีมาตรฐานการผลิต ภาชนะบรรจุไม่ดึงดูดใจ ไม่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ส่วนอุปสรรคในการผลิต คือ สถานที่ผลิตยังไม่เหมาะสม อุปกรณ์ขาดแคลนและไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม สมาชิกยังเห็นว่าการผลิตน้ำพริกเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีพอสมควร เมื่อคิดผลตอบแทนเป็นรายชั่วโมงแล้วสูงกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้มีความสำคัญ และมีรายละเอียดเพียงพอต่อการนำไปวางแผนพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยเน้นให้สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/457
Appears in Collections:PIKANATE JOURNAL CMRU

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
พิคเฆศวร์.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.